วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ZOOM (Photoshop cs5)

เครื่องมือซูมหรือคำสั่งที่เมนูมุมมองเพื่อซูมเข้าหรือซูมออกจากรูปภาพ

1 ทางลัดแถบเครื่องมือด่วน
เครื่องมือการซูมจะสามารถเลือกได้โดยการกดตัวอักษร Z -- มันเป็นทางลัดที่ง่ายและสะดวกต่อการจดจำเพราะมันจะช่วยให้คุณประหยัดจากที่มีการคลิกที่เครื่องมือซูมเพื่อเลือก

แต่ทำงานเพียงครั้งเดียวเครื่องมือขยายการดำเนินงานในทิศทางเดียวเท่านั้นในหรือออกขึ้นอยู่กับตัวเลือกที่คุณเลือกบนแถบเครื่องมือตัวเลือก คุณสามารถสลับทิศทางการซูมโดยถือปุ่ม Alt (Option ในเครื่อง Mac) ตามที่คุณซูม

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิธีการติดตั้งwindows7

วิธีการติดตั้งwindows7
1.นำแผ่นโปรแกรมwindows7ใส่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็ทำการ restartเครื่องคอมพิวเตอร์
2.คอมพิวเตอร์จะโชว์หน้าต่างขึ้นมาให้เลือก มีอยู่3หัวข้อให้เลือก เราก็เลือกข้อแรกเพื่อติดตั้งwindows7 จากนั้นเราก็กดEnter เพื่อให้คอมเข้าสู้การติดตั้ง windows7
3.เมื่อถึงขั้นตอนนี้ จะมีให้เราเลือกภาษา จะมีอยู่ 3ช่องให้เรากรอก ช่องแรกเราก็เลือกภาษาอังกฤษ ช่องที่2เลือกภาษาไทย ช่องที่3ไม่ต้องเปลี่ยน เมื่อเลือกเสร็จก็คลิก next
4.ขั้นตอนนี้เป็นการเป็นการถามว่าจะติดตั้งwindow7เดี้ยวนี้ไหม เราก็เลือกInstall Now แปลว่าติดตั้งเดี้ยวนี้
5.ขั้นตอนนี้เป็นการให้ยอมรับข้อตกลงของไมโคซอฟ ถ้าไม่ตกลงก็ติดั้งไม่ได้ เราก็เลือกยอมรับข้อตกลง แล้วก็คลิก nextต่อไป
6.ขั้นตอนนี้มีให้เราเลือกมีสองช่องเราก็เอกช่องที่สอง เพราะหมายถึงเราจะกำหนดเอง
7.ขั้นตอนนี้คือการ ลบหรือฟอร์แมทไดซ์ต่างๆ เราก็ไปกดที่ Drive options จากนั้นเราก็เลือกลบไดซ์ต่างๆ เมื่อลบเสร็จเราก็สร้างไดซ์ขึ้นมาอีก จากนั้นก็คลิก next
8.หน้านี้เป็นการดาวน์โหลดติดตั้งwindows
9.ถึงหน้านี้เป็นการ setup windows ให้เรากรอกชื่อเครื่องคอมลงไป จากนั้นก็คลิก next
10.ขั้นตอนนี้เป็นการ กรอก password เราไม่ต้องงกรอกก็ได้ เราก็คลิก next
11.ขั้นนี้คือตัวที่ใช้ในการคลายตัว windows เราไม่กรอกก็ได้ จากนั้นเราก็คลิก next
12.ขั้นตอนนี้มีหัวข้อให้เลือกสามหัวข้อเราก็เลือกหัวข้อข้างบนสุด คือการกำหนดการป้องกัน เลือกเสร็จคอมก็จะทำการrestart
13.ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย เราก็ไปตั้งค่าหน้าจอคอม เลือก icons มาวางที่หน้า Desktop

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

ความหมายพีเอชพี PHP


ความหมายพีเอชพี (PHP Meaning)

ภาษาพีเอชพี (PHP Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทโอเพนท์ซอร์ท (Open Source Computer Language) สำหรับพัฒนาเว็บเพจแบบไดนามิก เมื่อเครื่องบริการได้รับคำร้องจากผู้ใช้ก็จะส่งให้กับ ตัวแปลภาษา ทำหน้าที่ประมวลผลและส่งข้อมูลกลับไปยังเครื่องของผู้ใช้ที่ร้องขอ ในรูปเอชทีเอ็มแอล ภาพ หรือแฟ้มดิจิทอลอื่นใด ลักษณะของภาษามีรากฐานคำสั่งมาจากภาษาซี เป็นภาษาที่สามารถพัฒนาให้ใช้งานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้ได้
ภาษาพีเอชพี (PHP Language) มีการทำงานแบบเซอร์ฟเวอร์ไซต์สคริปต์ (Server-Side Script) จึงต้องมีเครื่องบริการ (Server) ที่ทำหน้าที่บริการการแปลภาษา และส่งผลให้กับเครื่องผู้ใช้ (Client) ที่ร้องขอด้วยการส่งคำร้องเข้ามายังเครื่องบริการ คำว่า PHP ย่อมาจาก Personal Home Page แต่พัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงเปลี่ยนเป็น Professional Home Page

http://www.thaiall.com/php/indexo.html

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การตั้งค่ารหัสผ่าน

1เข้าไปที่ Insert >Form >Text Field จะได้เป็นตาราง ไปตั้งค่าให้เป็น Password
2กำหนดค่ารหัสจะให้รอกได้กี่ตัว ให้ไปที่ char wicdth และ max chars
3ตั้งค่าการเตือนคือไปที่ insert >form>spry validation password แล้วไปตั้งค่าด้านล่าง
ไปเลือก validate on คลิกที่ Blur ไปเลือก Required แสดงว่า ให้ใส่ password
งานอดิเรกอื่นๆ
นำโค้ดด้านล่างใส่แทนโค้ดตัวเดิม

เช็คเงื่อนไข checkbox4 ถ้ามีการคลิกเลือกให้ ใช้ฟังก์ชั่น checkAgree

ส่วนโค้ดตัวด้านล่างนี้ให้ใส่ด้านล่างสุดของform หรือด้านบนสุดของform

ฟังก์ชั้น checkAgree ถ้าใช้ฟังก์ชั่นนี้ให้ textfield5 สามารถพิมพ์ข้อความลงไปได้

เลขบัตรประชาชน
เป็นโค้ดการกรอกบัตรประชาชนให้กรอกได้แต่ตัวเลข
คลิกกตรงช่องตารางที่จะกรอกเลขบัตรประชาชนแล้วโค้ดของช่องตารางเลขบัตรประชาชนก็จะปรากฏขึ้นมา เราก็นำโค้ดที่อยู่ตรงด้านล่างใส่เข้าไปตรงโค้ดเก่า ลบโค้ดเก่าออกด้วย
57 ){ alert('กรอกได้เฉพาะตัวเลขเท่านั้น !!'); return false; }" value="" maxlength="13" >
ถ้ากรอกข้อมูลที่เป็นตัวอักษรจะไม่สามารถกรอกได้ โดยระบบจะฟ้อง “กรอกได้เฉพาะตัวเลขเท่านั้น!!” แล้ว return ค่ากลับให้กรอกเฉพาะตัวเลขเท่านั้น และสามารถกรอกได้ 13 หลักเท่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หุ่นยนแปลภาษา



'ดินสอ' หุ่นอ่านภาษามือตัวแรกของโลก ฝีมือคนไทย
คณะวิศวะ มช. เจ๋ง.. สร้างหุ่นยนต์อ่านภาษามือเพื่อช่วยคนใบ้ ตัวแรกของโลกสำเร็จ ตั้งเป้าพัฒนาติดตั้งบนมือถือ เพื่อความสะดวกการพา
ผศ.ดร.ศันสนีย์ เอื้อพันธุ์วิริยะกุลอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์รศ.ดร.นิพนธ์ ธีรอำพน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และตัวแทนบริษัทซีทีเอเซีย โรโบติกส์ จำกัด ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวผลงานวิจัยซอฟต์แวร์บนตัวหุ่นยนต์ "ดินสอ" หุ่นอัจฉริยะที่อ่านภาษามือภาษาไทยตัวแรกของโลก โดยมีบรรดาเด็กพิการที่พูดไม่ได้ กว่า 100 คน จากโรงเรียนโสตศึกษาเชียงใหม่ เข้ามาร่วมทดสอบกับหุ่นยนต์ดินสอ

ผศ.ดร.ศันสนีย์ เปิดเผยว่า การสร้างหุ่นยนต์ดินสอ หรือหุ่นยนต์ที่อ่านภาษามือภาษาไทยเป็นตัวแรกของโลกนี้ เป็นงานวิจัยผลงานด้านซอฟต์แวร์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม โทรคมนาคม(สพท.) โดยผลงานนี้เป็นงานปริญญานิพนธ์และวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ และพัฒนาร่วมกับบริษัทซีทีเอเซียโรโบติกส์ จำกัด ใช้เวลาในการพัฒนากว่า 5 ปี โดยใช้เทคโนโลยีทางด้าน COMPUTATIONAL INTELLIGENCE จดจำภาษามือภาษาไทยที่เป็นภาพเคลื่อนไหว ที่ใช้สื่อสารกับผู้พิการทางการได้ยิน โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วย เช่นถุงมือไซเบอร์

อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า ระบบจะถูกสอนให้จดจำเริ่มจากการเก็บและสร้างต้นแบบไว้มากกว่า4,000 ภาพภาษามือ และระบบจะถูกสอนให้รู้และจำภาพภาษามือเหล่านั้น แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด ว่าผู้พิการที่แสดงภาษามือนั้นพูดว่าอะไร โดยหุ่นยนต์ดินสอจะมีกล้องติดอยู่บริเวณหน้าผากของหุ่นยนต์ บริเวณใบหน้าจะเป็นภาพหมีแพนด้า ภาพรูปหัวใจและภาพปกติ เมื่อมีผู้พิการไม่สามารถพูดได้มาแสดงท่าทางให้กับหุ่นยนต์ หุ่นยนต์ดินสอก็จะพูดแปลให้ว่าคนที่แสดงนั้นว่าอะไรบ้าง

ผศ.ดร.ศันสนีย์ กล่าว "การสร้างหุ่นยนต์ดินสอ เกิดจากแนวคิดที่มีคนสร้างเครื่องแปลภาษามือที่ว่าคำพูดแบบนี้ ภาษามือทำอย่างไร แต่ไม่เคยมีใครคิดเครื่องที่จะแปลภาษามือให้ออกมาเป็นคำพูด เราจึงเอาแนวคิดนี้มาผลิตเป็นหุ่นยนต์ดินสอ กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น ทุนสร้างต่อ 1 ตัวมากกว่า1 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นค่าซอฟต์เวร์ตอนนี้ทีมวิจัยทั้งหมดกำลังเร่งพัฒนาซอฟต์แวร์ตัวนี้ให้สามารถติดตั้งในโทรศัพท์มือถือ เพราะมีกล้องถ่ายรูปอยู่แล้ว ซึ่งในประเทศไทยมีผู้พิการทางการได้ยินราว 118,000 คนเมื่อโครงการนี้สำเร็จสมบูรณ์ผู้พิการเหล่านี้ก็จะมีชีวิตที่ดีขึ้นสะดวกขึ้น สามารถไปไหนมาไหนคนทั่วไปก็จะรู้ว่าผู้พิการพูดอะไร ต้องการอะไร"

ทางด้านอาจารย์โรงเรียนโสตศึกษาเปิดเผยว่า ปัญหาส่วนใหญ่ของเด็กพิการที่พูดไม่ได้นั้น ส่วนใหญ่คือคนทั่วไปไม่รู้ว่าเด็กเหล่านี้ต้องการอะไร เวลาเด็กเหล่านี้ไปไหนมาไหนก็ลำบากเพราะคนทั่วไปไม่รู้ เว้นแต่คนที่รู้ภาษามือเท่านั้น การที่ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คิดค้นพัฒนาหุ่นยนต์ดินสอออกมาและเตรียมจะพัฒนาให้ติดตั้งในโทรศัพท์มือถือได้นั้น ถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะผู้พิการทั้งหลายสามารถพกพาติดตัวไปไหนมาไหนได้ และสามารถแปลภาษามือให้คนทั่วไปได้เข้าใจ ชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กและผู้พิการเหล่านี้จะดีขึ้นแน่นอน

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553